วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม

จัดทำโดย
1. นางสาว นวสิริ  สิริประเสริฐ ม.6/4  เลขที่ 7
2. นาย กฤติน        พิสิฐวรกุล  ม.6/4  เลขที่ 9
3. นาย ธนพล       โลหะชุนสิริ ม.6/4 เลขที่ 13
4. นาย วิชชา        วิพุธอมร     ม.6/4 เลขที่ 21

แบบทดสอบ

1. ยาในข้อใดมีวิธีการใช้ที่แตกต่างจากข้ออื่น
ก. ทิงเจอร์ไอโอดีน
ข. เบตาดีน
ค. แอสไพริน
ง. ยาหม่อง

2. ก่อนใช้ยาควรทำอย่างไร
ก. อ่านฉลากยาให้แน่ใจก่อนว่าเป็นอย่าใช้ภายนอกหรือภายใน
ข. ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงก่อนใช้ยา
ค. ทดลองใช้ยากับสัตว์เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เป็นอันตราย
ง. พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเวลาใช้ยาร่างกายจะไม่รู้สึกอ่อนเพลีย

3. สารเสพติดในข้อใดไม่ได้มีฤทธิ์กดประสาท
ก. เฮโรอีน
ข. บุหรี่
ค. มอร์ฟีน
ง. เหล้า

4. บุหรี่ให้โทษอย่างไร
ก. มีกลิ่นปาก
ข. โรคมะเร็งปอด
ค. เสียบุคลิก
ง. ถูกทุกข้อ

5. ข้อใดไม่ใช่ Folk Dance
ก. ลิเก
ข. ฟ้อน
ค. รำสี่ภาค
ง. แอโรบิค

ประวัติของการเต้น Folk Dance

Folk dance หรือ "การเต้นรำพื้นเมือง" บางครั้งถูกนำไปใช้ในการเต้นรำของความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมของยุโรปในช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 สำหรับวัฒนธรรมอื่น ๆ คำว่า"การเต้นรำชาติพันธุ์"หรือ"เต้นรำแบบดั้งเดิม"จะใช้ในบางครั้งเพื่อสื่อความหมายว่าการเต้นรำพื้นบ้านแม้ว่าคำที่หลังอาจครอบคลุมศิลปะการฟ้อนรำพิธี
               ถึงแม้จะมีจำนวนของศิลปะการเต้นที่ทันสมัยเช่นการเต้นฮิปฮอปที่มีวิวัฒนาการตามธรรมชาติมี แต่คำว่า"การเต้นรำพื้นบ้าน"โดยทั่วไปจะไม่นำไปใช้กับการเต้นเหล่านั้นโดยที่เราจะใช้คำว่า"street danceแทน คำว่า"การเต้นรำพื้นบ้าน"สงวนไว้สำหรับการเต้นรำที่มีในระดับที่มีนัยสำคัญผูกพันตามประเพณีและมาในเวลาที่แตกต่างอยู่ระหว่างการเต้นรำของ"พื้นบ้านทั่วไป"และเต้นของ"สังคมชั้นสูง"
               การเต้นรำบอลรูมที่ทันสมัยมาจากคนพื้นบ้านคำว่า"ชาติพันธุ์"และ"ดั้งเดิม"จะใช้เมื่อจำเป็นเพื่อเน้นรากทางวัฒนธรรมของการเต้นรำ ในความรู้สึกนี้เกือบทั้งหมดเต้นรำพื้นบ้านจะเป็นคนเชื้อชาติ ถ้าเต้นรำบางอย่างเช่นลายขอบเขตของเชื้อชาติข้ามและแม้กระทั่งข้ามเขตแดนระหว่าง"พื้นบ้าน"และ"การเต้นรำบอลรูม"ที่แตกต่างชาติพันธุ์มักจะมีมากพอที่จะพูดถึงเช่นเช็กกับเยอรมัน
                 ไม่ได้ทุกชาติพันธุ์มีศิลปะการฟ้อนรำฟ้อนรำพื้นบ้านตัวอย่างเช่นพิธีกรรมศิลปะการฟ้อนรำหรือเต้นของแหล่งกำเนิดพิธีกรรมจะไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นศิลปะการฟ้อนรำพื้นบ้าน พิธีกรรมเต้นรำมักจะเรียกว่า"เต้นที่ทางศาสนา"เพราะวัตถุประสงค์ของพวกเขา


ตัวอย่าง Thai Folk Dance




http://www.youtube.com/watch?v=SkgvCWetFnM


อ้างอิงจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Folk_dance

สารเสพติดให้โทษ

ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติดให้โทษ หรือสิ่งเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก้ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้
1. ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ
2. ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น
3. มีอาการหยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)
4. สุขภาพทั่วไปทรุดโทรม


ประเภทของยาเสพติด
ปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภทแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้
1.ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประทสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ

2. ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน

3. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี,เอส ที พี,น้ำมันระเหย

4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา
        
โทษทางร่างกาย และจิตใจ
1. 
สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายเช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. 
ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
3. 
สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชาเพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. 
ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง  ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. 
เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. 
อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. 
เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม



อ้างอิงจาก

การใช้ยา

ยา  หมายถึง วัตถุหรือสารที่ใช้สำหรับวิเคราะห์บำบัดบรรเทา รักษาหรือป้องกันความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์ตลอดถึงวัตถุที่มีผลต่อโครงสร้างของมนุษย์และสัตว์ด้วย



แบ่งยาเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
            1. ยาใช้ภายใน  หมายถึง ยาที่ใช้รับประทานตัวหนังสือบนฉลากยา จะเป็นสีดำหรือน้ำเงิน


            2. ยาใช้ภายนอก  หมายถึง ยาที่รับประทานไม่ได้ตัวหนังสือบนฉลากจะเป็นสีแดงและมีข้อความว่าห้ามรับประทาน หรือ ใช้เฉพาะภายนอก


วิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง
1. ใช้ยาให้ถูกคน
          - ควรใช้กับเจ้าของยาเท่านั้น
          - ไม่ควรใช้ยาร่วมกันเพราะยาที่ใช้อาจไม่ตรงกับโรคที่เป็นและอาจเกิดการแพ้ยาได้
2. ใช้ยาให้ถูกต้องตรงกับยา
          - ก่อนใช้ทุกครั้งต้องอ่านฉลากยาให้แน่ใจเสียก่อนว่าเป็นยาที่ต้องการใช้หรือไม่
          - อย่าใช้ยาจากการจำตัวอย่างยาหรือจำรูปร่างหรือใช้ยาจากการโฆษณา
          - ยาที่เก็บไว้นานจนสี กลิ่น และรสเปลี่ยนไป หรือยาที่หมดอายุ ห้ามนำไปใช้
3. ใช้ยาให้ถูกขนาด
          - รับประทานยาให้ถูกขนาด เช่น ครั้งละ 5 มิลลิลิตรหรือครั้งละ 1 เม็ด ตามที่กำหนดไว้บนฉลากยา
          - ถ้าลือรับประทานยาในมื้อหนึ่งมื้อใดก็ตามห้ามรับประทานยาเป็น 2 เท่า ในมื้อต่อไป เพราะอาจเป็นอันตรายเนื่องจากรับประทานยาเกินขนาดได้
4. ใช้ยาให้ถูกทาง/วิธี
          - ก่อนใช้ยาทุกครั้ง ต้องอ่านฉลากยาให้แน่ใจเสียก่อนว่าเป็นยาที่ใช้ ภายนอก หรือภายใน
          - ปฏิบัติตามคำสั่งการใช้ให้ถูกต้อง เช่น เขย่าขวดก่อนกิน,เคี้ยวก่อนกลืน
          - น้ำที่ใช้ในการรับประทานยา ควรใช้น้ำสะอาดธรรมดา ไม่ควรใช้เครื่องดื่มใดๆ เพราะอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับเครื่องดื่มได้
          - หลังจากใช้ยาภายนอก ควรล้างมือทุกครั้ง
5. ใช้ยาให้ถูกเวลา
          - รับประทานยาให้ถูกต้องตรงกับเวลาที่กำหนดไว้ในฉลากยา ดังนี้
            ก่อนอาหาร หมายถึง รับประทานยาก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่งโมง
            หลังอาหาร หมายถึง รับประทานยาหลังจากรับประทานอาหารแล้วประมาณ 15 นาที
            ก่อนนอน หมายถึง รับประทานยาหลังจากรับประทานอาหารแล้วประมาณ 4 ชั่วโมง

วิธีการดูว่ายาหมดอายุหรือไม่
          - สามารถทราบว่ายาผลิตวันใด จากคำว่า “Mfd.”ที่กำกับอยู่บนฉลากยา
          - ในกรณีที่ยามีกำหนดอายุ ก็สามารถดูได้จากคำว่า “Exp. Date” หรือ “Use. Before” ที่กำกับอยู่บนฉลากยาเช่นเดียวกัน
          - นอกจากนี้ยาใดที่ผลิตออกมาแล้ว เกิน 5 ปี ก็ไม่ควรนำมาใช้ เพราะจัดว่าเป็นยาที่เสื่อมสภาพแล้ว

ข้อควรระวัง
          - หลังจากการใช้ยาแล้ว ถ้ามีอาการผิดปกติหรืออาการแพ้ยาเกิดขึ้น เช่น เป็นผื่น คัน บวมตามผิวหนัง หรือคลื่นไส้ อาเจียน ให้หยุดยาทันทีถ้าไม่หายรีบปรึกษาแพทย์ พร้อมจำชื่อยาที่แพ้ด้วย
          - ควรเก็บยาให้พ้นมือเด็ก
          - ยาภายนอก ยาภายใน ควรเก็บแยกกัน
          - เก็บยาให้พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น
          - ควรระวังเป็นพิเศษสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
          - ยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบที่คนส่วนใหญ่เรียกกัน ควรรับประทานยาติดต่อกันจนครบตามแพทย์สั่ง
          - ไม่ควรซื้อยาใช้เองโดยไม่จำเป็น ถ้าต้องการซื้อยาให้ปรึกษาเภสัชกรรม

อ้างอิงจาก

http://info.pattaya.go.th/km/publichealth/DocLib24/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5.aspx